กสิกรไทยต่อยอด AEC+3 ชูยุทธศาสตร์การเงินผ่านดิจิทัลแบงก์กิ้งเต็มรูปแบบ

ธนาคารกสิกรไทย ต่อยอด AEC+3 ชูยุทธศาสตร์การเงินผ่านดิจิทัลแบงก์กิ้ง พร้อมตั้งเป้าปี 66 เพิ่มสัดส่วนรายได้ต่างประเทศต่อรายได้สุทธิเป็น 4%

เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 66 นายภัทรพงศ์ กัณหสุวรรณ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย หรือ KBANK กล่าวว่า ในปีที่ผ่านมาธนาคารได้ขยายธุรกิจในต่างประเทศ และสามารถสร้างการเติบโตได้อย่างรวดเร็วภายใต้สถานการณ์โลกที่ท้าทายและยังอยู่ในสภาวะเพิ่งฟื้นตัว โดยปีที่ผ่านมาธนาคารสามารถส่งมอบรายได้สุทธิ หรือ Net Total Income ให้ธนาคารกสิกรไทยเพิ่มขึ้นเป็น 2.5% และปัจจุบันมีจำนวนลูกค้าท้องถิ่นในต่างประเทศถึง 2.1 ล้านรายทั่วภูมิภาค

สำหรับปี 2566 ธนาคารกสิกรไทยจะขยายธุรกิจในตลาด AEC+3 อย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นธนาคารแห่งภูมิภาค AEC+3 หรือ A Regional Bank of Choice ด้วยการเดินหน้ากลยุทธ์ทางธุรกิจ 3 ด้านประกอบด้วย

1. การรุกขยายสินเชื่อให้กับลูกค้าธุรกิจ

2. การขยายฐานลูกค้าที่มุ่งเน้นการใช้บริการในช่องทางดิจิทัล ผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรของธนาคาร เพื่อต่อยอดสู่การเป็นแพลตฟอร์มการชำระเงินแห่งภูมิภาค

3. การพัฒนาบริการทางการเงินรูปแบบใหม่สำหรับกลุ่มลูกค้าที่เข้าถึงบริการของธนาคารได้จำกัด ซึ่งเป็นฐานลูกค้าขนาดใหญ่ในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะการให้สินเชื่อดิจิทัลด้วยข้อมูลทางเลือก

ขณะเดียวกันก็มุ่งหน้าสร้างพื้นฐานของธนาคารให้แข็งแกร่ง เพื่อให้การดำเนินธุรกิจใน AEC+3 มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น พร้อมให้ความสำคัญกับการสร้างธนาคารกสิกรไทยให้เป็นที่รู้จักและน่าเชื่อถือในแต่ละประเทศทั่วภูมิภาค ด้วยการเพิ่มโครงสร้างพื้นฐานและบุคลากรด้านไอทีเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการในรูปแบบดิจิทัล

รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้สอดคล้องกับความต้องการและประโยชน์สูงสุดแก่ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการเชื่อมต่อกับพันธมิตรผู้ให้บริการทางการเงินในท้องถิ่น ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการสร้าง Ecosystem เพื่อส่งมอบบริการทางการเงินที่จะช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงเงินทุนเพื่อการดำเนินชีวิตหรือทำธุรกิจได้มากขึ้นในวงกว้าง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ธนาคารกสิกรไทยมีความแตกต่างจากผู้ให้บริการรายอื่น ตามแนวคิดการเป็น Beyond Banking ของธนาคารในระดับภูมิภาค

นายชัช เหลืองอาภา รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า สำหรับเป้าหมายและกลยุทธ์การเติบโตของธนาคารกสิกรไทย ในปี 2566 ซึ่งเป็นปีแห่งโอกาสในการเติบโตของภูมิภาคอาเซียน ธนาคารกสิกรไทยจึงขับเคลื่อนธุรกิจสู่การเป็นธนาคารแห่งภูมิภาค AEC+3 อย่างต่อเนื่อง

โดยมุ่งเน้นขยายธุรกิจในจีน เวียดนาม อินโดนีเซีย กัมพูชา และ สปป.ลาว ด้วยยุทธศาสตร์การเงินผ่านดิจิทัลแบงก์กิ้ง รวมทั้งบริการที่มากกว่าบริการธนาคาร หรือ Beyond Banking จากการประสานศักยภาพทางเทคโนโลยีและพันธมิตร เพื่อการพัฒนาบริการที่จะช่วยให้ลูกค้าในภูมิภาคนี้มีชีวิตที่ดี พร้อมร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภูมิภาค ธนาคารกสิกรไทยได้กำหนดแนวทางการดำเนินธุรกิจและเป้าหมายสำคัญในประเทศยุทธศาสตร์ ดังนี้

– การดำเนินธุรกิจยังคงมุ่งเน้นไปที่ประเทศจีน และ AEC โดยในประเทศจีน ธนาคารกสิกรไทยในฐานะธนาคารท้องถิ่นในประเทศจีน มุ่งมั่นที่จะส่งมอบคุณค่าให้ลูกค้าด้วยแนวคิด Better Me และ Better SMEs ด้วยการช่วยให้ลูกค้าท้องถิ่นในจีน เข้าถึงสินเชื่อเพื่อสร้างโอกาสในการพัฒนาชีวิตและธุรกิจ สำหรับการดูแลลูกค้าท้องถิ่นในประเทศกลุ่ม AEC ทั้งใน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และอินโดนีเซีย

โดยธนาคารจะมุ่งเน้นการพัฒนาบริการทางการเงินบนดิจิทัล หรือ Digital Financial Product & Service ที่จะช่วยตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย เพื่อให้ลูกค้าบุคคลได้รับความสะดวกในการเข้าถึงบริการธนาคารได้มากขึ้น

นอกจากนี้ ในมุมการสนับสนุนลูกค้าธุรกิจในภูมิภาค ธนาคารจะเพิ่มการเชื่อมต่อเครือข่ายลูกค้าธุรกิจระหว่าง ไทย จีน และ AEC ให้มากยิ่งขึ้น หรือ AEC Connectivity เพื่อสร้าง Cross Border Value Chain ที่จะช่วยให้ลูกค้าสามารถต่อยอดโอกาสทางธุรกิจได้

สำหรับประเทศเวียดนาม เป็นหนึ่งในประเทศยุทธศาสตร์สำคัญ ด้วยเศรษฐกิจที่เติบโตถึง 8.02% ในปี 2565 เป็นการขยายตัวที่เร็วที่สุดในรอบ 25 ปี โดยธนาคารกสิกรไทยได้เข้าไปให้บริการในเวียดนาม ด้วยการสร้าง Digital Lifestyle Solution ผ่านการใช้งาน K PLUS Vietnam เป็นแกนหลัก ซึ่งจากการให้บริการตั้งแต่เดือน มี.ค.64 จนถึงปัจจุบันในเดือน ก.พ. 65 มีผู้ใช้งานถึง 400,000 ราย

นอกจากนี้ยังเพิ่มการขยายฐานพันธมิตรท้องถิ่น ผ่านการลงทุนของบริษัท KVision ที่เข้าไปลงทุนในบริษัทดาวรุ่งที่เวียดนามในหลากหลายธุรกิจ อาทิ Seedcom กลุ่มธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่ของเวียดนาม เพื่อขยายบริการด้านการเงิน และ Selly สตาร์ทอัพผู้ให้บริการแพลตฟอร์มโซเชียลคอมเมิร์ซ เป็นต้น

โดยธนาคารจะเดินหน้าพัฒนาเพื่อไปสู่การเป็นผู้ให้บริการทางการเงินอย่างเต็มรูปแบบ (Transactional Ecosystem) ครอบคลุมลูกค้าทุกกลุ่มในเวียดนาม ทั้งกลุ่มลูกค้าองค์กร บริษัทขนาดกลาง กลุ่มค้าปลีก และลูกค้ารายย่อย ตั้งเป้าหมายในปี 2566 จะมีลูกค้าบุคคลเวียดนาม 1.3 ล้านราย และตั้งเป้าจะเติบโตเป็นธนาคารที่มีขนาดสินทรัพย์ใหญ่ติดอยู่ใน 20 อันดับแรก (Top 20 Bank in Asset Size) ในประเทศเวียดนาม ภายในปี 2570

นอกจากนี้ ประเทศอินโดนีเซียเป็นอีกประเทศที่มีศักยภาพสูง ด้วยจำนวนประชากร 270 ล้านคน มากเป็นอันดับที่ 1 ของอาเซียน และเป็นอันดับที่ 4 ของโลก ธนาคารกสิกรไทยจึงเดินหน้าการทำธุรกิจในประเทศอินโดนีเซีย โดยปลายปี 2565 ธนาคารได้เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในธนาคารแมสเปี้ยนเป็น 67.5 % ส่งผลให้ธนาคารเป็นผู้ถือหุ้นที่มีอำนาจในการควบคุม หรือ Controlling Shareholder ในธนาคารแมสเปี้ยน

การเงิน-กสิกรไทยต่อยอด

โดยการดำเนินงานต่อจากนี้ ธนาคารจะเน้นการทำ Transformation โดยนำประสบการณ์ ความพร้อม และความเชี่ยวชาญในการดำเนินธุรกิจธนาคารที่มีมายาวนาน ทั้งธนาคารแมสเปี้ยนที่เชี่ยวชาญเรื่องความต้องการของคนในท้องถิ่น และธนาคารกสิกรไทยที่มีความชำนาญเรื่องบริการด้านดิจิทัลแบงก์กิ้ง มาประยุกต์ ต่อยอด และพัฒนาบริการ

รวมถึงมีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้ธนาคารแมสเปี้ยนเติบโตเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดใน East Java และพร้อมรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจของอินโดนีเซียในระยะยาวต่อไป ผ่านการดำเนินกลยุทธ์ทางธุรกิจ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ (Corporate) กลุ่มธุรกิจขนาดกลาง (Commercial) และกลุ่มลูกค้ารายย่อย (Retail) เพื่อเป็น 1 ใน 20 ธนาคาร ที่ปล่อยสินเชื่อมากที่สุดในประเทศอินโดนีเซียในปี 2570

นายชัช กล่าวเพิ่มเติมว่า ธนาคารกสิกรไทยได้เสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านดิจิทัลแบงก์กิ้ง ด้วยการนำเทคโนโลยีล้ำสมัยและความเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมทางการเงินของ KASIKORN Business Technology Group (KBTG) พัฒนาเทคโนโลยีในการให้บริการทั้งในจีน เวียดนาม อินโดนีเซีย และประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค เพื่อตอกย้ำถึงยุทธศาสตร์ในการบริการที่มากกว่าแค่ธนาคาร (Beyond Banking) แห่งภูมิภาค AEC+3 อย่างสมบูรณ์

นอกจากนี้ยังมุ่งมั่นพัฒนากระบวนการทำงานของทีมงานในทุกประเทศเพื่อผลักดันองค์กรให้เป็นพื้นที่แห่งการเติบโตอย่างไร้ขีดจำกัด (World of Borderless Growth) สำหรับคนทำงานอย่างแท้จริง ด้วยการสนับสนุนทรัพยากรและรูปแบบการดำเนินงานให้กับทีมงาน มุ่งไปสู่เป้าหมายที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่องและพร้อมรับความท้าทายในระดับภูมิภาค

โดยธนาคารกสิกรไทย ตั้งเป้าหมายปี 2566 ธนาคารจะมียอดรายได้จากธุรกิจต่างประเทศเป็น 4% ของรายได้สุทธิ (เพิ่มขึ้นจากระดับ 2.5% ในปี 2565) และเดินหน้าสู่การเป็น 1 ใน 20 ธนาคารที่ดีที่สุดในประเทศเวียดนามและอินโดนีเซีย ภายในปี 2570

อ่านข่าวเพิ่มเติม : แนวโน้มตลาดทองคำดูเสี่ยงลงมากขึ้น

แนวโน้มตลาดทองคำดูเสี่ยงลงมากขึ้น

ราคาทองคำ Spot สวิงแรงชนทั้งกรอบบน-ล่าง แม้ดอลลาร์ยังนิ่ง แต่เงินบาทเริ่มมีสัญญาณอ่อนค่าหา 34 บาทต่อดอลลาร์

บทวิเคราะห์ราคาทอง บริษัท ฮั่วเซ่งเฮง โกลด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด รายงานว่า ราคาทองคำ Spot ปรับบวกขึ้นมาจ่อจะเบรกแนวต้านกรอบบนที่ไม่สามารถผ่านได้สักทีตลอดเดือน ธ.ค. ที่ผ่านมา แต่เนื่องจากค่าเงินบาทที่แข็งหลุดจุดต่ำล่าสุดที่ 34.46 บาทต่อดอลลาร์ ทำให้ทิศทางของเงินบาทมีแนวโน้มจะแข็งค่าต่อจนอาจลงต่ำกว่า 34 บาทต่อดอลลาร์ ทำให้ราคาทองคำในประเทศจะไม่ได้รับผลบวกอย่างเต็มที่จากการแรลลี่ของราคาทองคำ Spot ก่อนวันตรุษจีน ทั้งนี้ SPDR Gold Trust ขายสุทธิ 0.87 ตัน รวมถือครองทองคำทั้งสิ้น 917.64 ตัน

ตัวเลขเศรษฐกิจที่ต้องติดตาม

คืนนี้ ม.มิชิแกน จะประกาศผลสำรวจเบื้องต้นของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในสหรัฐ ประจำเดือน ก.พ. และตัวเลขคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในปีหน้า

แนวโน้มราคาทอง

ราคาทองคำ Spot บวกหลอกด้วย Bull Trap ขึ้นพ้นแนวต้านที่กรอบบน 1,885 ดอลลาร์ แต่ไม่พ้น 1,890 ดอลลาร์ ก่อนร่วงแรงจนเกือบหลุดแนวรับที่กรอบล่าง 1,860 ดอลลาร์ ทำให้ภาพการแกว่งแบบ Sideway Up ในช่วง 1,860-1,885 ดอลลาร์ จบลง และมีความเสี่ยงสูงขึ้นที่ราคาอาจจะเลือกทางลงต่อในวันนี้หรือวันจันทร์ จึงปรับคำแนะนำให้ชอร์ตเมื่อปรับขึ้น และชอร์ตตามเมื่อหลุด 1,860 ดอลลาร์ สำหรับวันนี้ประเมินแนวรับไว้ที่ 1,850 ดอลลาร์ และ 1,820 ดอลลาร์ และมองแนวต้านไว้ที่ 1,885 ดอลลาร์ และ 1,895 ดอลลาร์

ข่าวอื่นๆ ราคาทองวันนี้ (27 ม.ค. 66) ปรับลง 50 บาท รูปพรรณบาทละ 30,500 บาท

ราคาทองวันนี้ (27 ม.ค. 66) ปรับลง 50 บาท รูปพรรณบาทละ 30,500 บาท

ราคาทองวันนี้ (27 ม.ค. 66) ปรับลง 50 บาท รูปพรรณบาทละ 30,500 บาท

ราคาทองวันนี้ (27 ม.ค. 2566) ปรับลง 50 บาท เมื่อเปรียบเทียบกับราคาปิดวานนี้ ทองรูปพรรณขายออกที่บาทละ 30,500 บาท ตามข้อมูลล่าสุด จากเว็บไซต์ของสมาคมค้าทองคำ เมื่อเวลา 13.09 น.ที่ผ่านมา

ทองคำแท่งมีราคารับซื้อในประเทศอยู่ที่บาทละ 29,900 บาท ขายออกที่ราคาบาทละ 30,000 บาท ตามประกาศครั้งที่ 4 ประจำวันนี้

ขณะที่ทองรูปพรรณ 96.5% รับซื้ออยู่ที่บาทละ 29,364.92 บาท ราคาขายออกบาทละ 30,500 บาท ขณะที่ราคาทองคำตลาดโลก (Gold Spot) อยู่ที่ 1,926.00 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

ราคาทองวันนี้

สรุปราคาทองคำ วันที่ 27 ม.ค. 2566

ประกาศครั้งที่ 4
*ทองแท่ง*
• รับซื้อ บาทละ 29,900 บาท
• ขายออก บาทละ 30,000 บาท

*ทองรูปพรรณ*
• รับซื้อ บาทละ 29,364.92 บาท
• ขายออก บาทละ 30,500 บาท

ประกาศครั้งที่ 3
*ทองแท่ง*
• รับซื้อ บาทละ 29,850 บาท
• ขายออก บาทละ 29,950 บาท

*ทองรูปพรรณ*
• รับซื้อ บาทละ 29,319.44 บาท
• ขายออก บาทละ 30,450 บาท

ประกาศครั้งที่ 2
*ทองแท่ง*
• รับซื้อ บาทละ 29,900 บาท
• ขายออก บาทละ 30,000 บาท

*ทองรูปพรรณ*
• รับซื้อ บาทละ 29,364.92 บาท
• ขายออก บาทละ 30,500 บาท

ประกาศครั้งที่ 1
*ทองแท่ง*
• รับซื้อ บาทละ 29,950 บาท
• ขายออก บาทละ 30,050 บาท

*ทองรูปพรรณ*
• รับซื้อ บาทละ 29,410.4 บาท
• ขายออก บาทละ 30,550 บาท